ตามประวัติกล่าวไว้ว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช อาณาจักรล้านช้าง มีพระธิดา 3 องค์ ได้ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปประจำพระองค์ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา จึงได้ร่วมกันสร้างพระพุทธรูป คือ พระสุกสำหรับพระธิดาองค์ใหญ่ พระเสริมสำหรับพระธิดาองค์รอง และพระใสสำหรับพระธิดาองค์เล็ก
ตามประวัติการสร้างเล่าว่า
ประชาชนได้มีความศรัทธา ต่างก็พากันนำเอาทองมาร่วมบริจาคกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งการหลอมทองนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะทองมีจำนวนมากและมีวัตถุหลายประเภททำให้ทองไม่ละลาย มีทั้งเจ้าหน้าที่พระและประชาชนทั่วไป ได้พากันมาร่วมงาน ช่วยกันหลอมทองกันอย่างขมักเขม้น ใช้เวลา 7 วันแล้วทองก็ยังไม่ละลาย จนถึงวันที่ 8 เวลาเพล เหลือหลวงตากับสามเณรน้อยรูปหนึ่งสูบเตาอยู่ได้ปรากฏชีปะขาว ตนหนึ่งมาขอช่วยทำ หลวงตากับเณรน้อยจึงไปฉันเพล ญาติโยมที่มาส่งเพลจะลงไปช่วยแต่มองไปเห็นชีปะขาวจำนวนมากช่วยกันสูบเตาอยู่ แต่เมื่อถามพระ พระมองลงไปก็เห็นเป็นชีปะขาวตนเดียว พอฉันเพลเสร็จคนทั้งหมดจึงลงมาดู ก็เกิดความอัศจรรย์ใจยิ่ง เหตุเพราะได้เห็นทองทั้งหมดถูกเทลงในเบ้าทั้ง 3 เบ้า และ ชีปะขาวนั้นก็หายไป
จากนั้นเป็นต้นมา เมื่อคราใดที่เกิดสงครามบ้านเมืองไม่สงบสุข ชาวเมืองก็จะนำพระพุทธรูปทั้ง 3ไปซ่อนไว้ที่ภูเขาควาย หากเหตุการสงบแล้วจึงนำกลับมาไว้ดังเดิม
จนถึงในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ขึ้นที่เมืองเวียงจันทน์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์ได้เป็นจอมทัพยกพลมาปราบ เมื่อเมืองเวียงจันทน์สงบแล้ว จึงได้อัญเชิญพระสุก พระเสริม และพระใสมาที่จังหวัดหนองคาย
มีคำบอกเล่าว่า คราที่อัญเชิญมานั้น ไม่ได้อัญเชิญมาจากเมืองเวียงจันทน์โดยตรงแต่อัญเชิญมาจากภูเขาควาย ซึ่งชาวเมืองนำไปซ่อนไว้ การอัญเชิญนั้นได้ประดิษฐานหลวงพ่อทั้งสามไว้บนแพไม้ไผ่ล่องมาตามลำน้ำงึม เมื่อล่องมาถึงเวินแท่นได้เกิดอัศจรรย์ คือ แท่นของพระสุกได้แหกแพจมลงในน้ำ โดยเหตุที่มีพายุแรงจัดพัดแพจนเอียงชะเนาะที่ขันพระแท่นติดกับแพไม่สามารถที่จะทนน้ำหนักของพระแท่นไว้ได้ บริเวณนั้นจึงชื่อว่า “เวินแท่น” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
เมื่อล่องแพต่อมาจนถึงแม่น้ำโขง ตรงปากงึม เฉียงกับบ้านหนองกุ้ง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ได้บังเกิดฝนฟ้าคะนอง พระสุกได้แหกแพจมลงในน้ำ ท้องฟ้าที่วิปริตต่าง ๆ จึงหายไป บริเวณนั้นจึงได้ชื่อ “เวินสุก”ตั้งแต่นั้นมา
ด้วยเหตุข้างต้น การอัญเชิญครั้งนี้จึงเหลือแต่พระเสริม และพระใสมาถึงหนองคาย และได้อัญเชิญไปไว้ยังวัดหอก่อง หรือวัดประดิษฐ์ธรรมคุณ ณ ปัจจุบัน
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๗๙ ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นที่วัดหอก่องกล่าวคือเกิดแผ่นดินไหวทำให้เกิดเป็น รอยแยกขนาดใหญ่ต่อหน้าพระเสริมทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันของชาวเมืองและข้าราชการไปต่างๆนานา บ้างก็ว่าเป็นอาเพศบ้านเมืองจะทุกข์ร้อน บ้างก็ว่าเป็นลางบอกเหตุว่าพระเสริมต้องการย้ายไปวัดอื่น บ้างก็ว่าวัดหอก่องเป็นวัดเล็กๆไม่เหมาะสมที่จะเอาพระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างมาไว้ในที่แคบๆ เช่นนี้ เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนั้นทางเจ้าเมืองและกรรมการเมืองหนองคายจึงได้ปรึกษากันว่าจะ ทำอย่างไร ในที่สุดก็ได้มีการอัญเชิญพระเสริมจากวัดหอก่องมาประดิษฐานที่อุโบสถวัดโพธิ์ชัย และนับจากนั้นมาวัดโพธิ์ชัยก็ได้กลายมาเป็นวัดหลวงคือวัดประจำเมือง
พระเสริมประดิษฐาน ที่พระวิหารวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
ในสมัยรัชกาลที่ 4 จากหลักฐานใน ชุมนุมพระบรมราชาธิบายในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงระบุว่าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้อัญเชิญพระเสริมจากเมืองหนองคายไปประดิษฐานยังพระบวรราชวัง ตั้งพระทัย ว่าจะประดิษฐานเป็นพระประธานในวัดบวรสถานสุทธาวาส
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ขุนวรราชธานีและท้าวเหม็นเป็นข้าหลวงขึ้นมาอัญเชิญพระเสริมจาเมืองหนองคายไปกรุงเทพ โดยขุนวรธานีจะอัญเชิญพระใสไปพร้อมกับพระเสริมด้วย แต่เกิดปาฏิหาริย์ พราหมณ์ผู้อัญเชิญ ไม่สามารถขับเกวียนนำพระใสไปได้ แม้จะใช้กำลังคนหรืออ้อนวอนอย่างไรก็ตาม จนในที่สุดเกวียนได้หักลง เมื่อหาเกวียนใหม่มาแทนก็ไม่สามารถเคลื่อนไปได้อีก จึงปรึกษาตกลงกันว่าให้อัญเชิญพระใสมาไว้ที่วัดโพธิ์ชัยแทนพระเสริม ซึ่งอัญเชิญไปกรุงเทพฯ เมื่ออธิษฐานดังกล่าวพอเข้าหามเพียงไม่กี่คนก็อัญเชิญพระใสมาได้
ส่วนพระเสริมที่อัญเชิญไปกรุงเทพฯ เมื่อครั้งที่มีการแห่พระเสริมจากหนองคาย เข้าเขตพระนครในยุคนั้น ชาวลาวล้านช้างที่ถูกต้อนมาอยู่ในกรุงรัตนโกสินทร์ต่างได้ทำริ้วขบวนแห่ต้อนรับ จัดทำพานบายศรีและเครื่องบูชาเพื่อบูชาพระเสริม
ต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.2408 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้อัญเชิญพระเสริมจากพระบวรราชวัง ไปประดิษฐานยังพระวิหารวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร ตราบจนถึงทุกวันนี้
หลวงพ่อพระใสประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวรับสั่งให้ขุนวรธานีและท้าว เหม็นขึ้นอัญเชิญพระเสริมที่เมืองหนองคายไปกรุงเทพฯแล้ว เหตุการณ์ครั้งนั้นมีปรากฏตามตำนานว่าขุนวรธานีได้ให้มีการอัญเชิญพระใสมา สมทบกับพระเสริมที่วัดโพธิ์ชัยเพื่อจะอัญเชิญไปที่กรุงเทพฯพร้อมกัน แต่ก็ปรากฏว่ามีเหตุการณ์ที่น่าอัศจรรย์เกิดขึ้นคือเกวียนที่ใช้อัญเชิญหลวง พ่อพระใสนั้นพอมาถึงหน้าพระอุโบสถวัดโพธิ์ชัยแล้วก็ไม่สามารถที่จะเคลื่อน ที่ต่อไปแม้ว่าจะใช้กำลังคนเท่าไหร่ก็ตามจนในที่สุดเกวียนก็หักลง แม้เปลี่ยนเกวียนเล่มไหม่ก็มีเหตุการณ์เกวียนหักเช่นเดิม ทางผู้อัญเชิญจึงปรึกษากันว่าชะรอยหลวงพ่อพระใสจะต้องการประดิษฐานที่วัด โพธิ์ชันเพื่อเป็นมิ่งขวัญให้กับประชาชนในเมืองหนองคายสืบไป จากนั้นก็ใช้คนหามเพียงไม่กี่คนก็สามารถยกหลวงพ่อพระใสเข้าไปประดิษฐานที่ อุโบสถด้โดยง่าย และเหตุการณ์ดังกล่าวจึงเป็นที่มาของชื่อที่ชาวบ้านได้เรียกขานหลวงพ่ออีก ชื่อหนึ่งว่า “หลวงพ่อเกวียนหัก” และนับจากนั้นเป็นต้นมาหลวงพ่อพระใสก็ไม่ได้มีการเคลื่อนย้ายไปใหนเลยนับเวลาตั้งแต่พ.ศ. 2399 – ปัจจุบัน