อาฬวกยักษ์

อาฬวกยักษ์ หนึ่งในยักษ์ที่เป็นที่รู้จักกันดีในพุทธศาสนา ตามตำนานกล่าวว่า

อาฬวกยักษ์ เป็นอสูรตนหนึ่งที่มีลักษณะมือทั้งสองข้างจับศีรษะ ซึ่งบนศีรษะของยักษ์ตนนี้ถ้ามองดีๆจะมีผ้าโพกศีรษะพันอยู่เหตุที่ต้องเอามือมาจับผ้าโพกศีรษะนั้นเพราะผ้าผืนที่โพกเป็นอาวุธวิเศษที่เรียกว่า
“ทุสสาวุธ” ความวิเศษของผ้าผืนนี้ได้ถูกเล่าขานขนานชื่อจนเป็นที่น่าจดจำไว้ว่า

เมื่อใดก็ตามที่ยักษ์ตนนี้โกรธก็จะลดมือลงแล้วปล่อยผ้าโพกศีรษะให้ลอยไปในอากาศจนเกิดเป็นเหตุภัยวิป ริตติดขัดฝนฟ้าไม่ตกลงพื้นพสุธาระยะเวลา12 ปี แม้ปล่อยผ้าลงไปที่พื้นธรณีเหล่าบรรดาพฤกษาชาติมากมีก็จะถึงวิถีแห้งเหี่ยวล้มตาย กลายเป็นความไม่สดชื่นไม่เจริญงอกงาม ระยะที่กล่าวขานเป็นเวลา 12 ปีและถ้าปล่อยผ้าผืนนี้
ลงในห่วงมหานทีจะเกิดวิบัติวิถีน้ำแห้งเหือดเดือดดาน ปล่อยไปในสิงขรเขาก็จะเกิดระเบิดแตกกระจายกลายเป็นกรวดเล็กๆ ซึ่งเป็นเหตุแห่งโทสจริต หรือความโกรธของยักษ์ตนนี้ที่มีมาตั้งแต่อดีตชาติลุสมัยที่เสวยชาติเป็นมนุษย์เป็นผู้ที่มีความโกรธเป็นพื้นฐาน แต่ในทางกลับด้านก็เป็นผู้ที่ชอบทำทานบำเพ็ญกุศลอยู่เนืองนิจ กิจปฏิบัติไม่มีขาดหาย ตลอดเมื่อวายชีพผลบุญกุศลทางดีก็ให้มาเกิดเป็นยักษ์ที่มีฤทธานุภาพมหาศาล

สำหรับอาฬวกยักษ์ตนนี้เป็นยักษ์ที่มีเรื่องเล่าที่น่าสนใจ มีประวัติความเป็นมาที่พอจะเชื่อมโยงได้ว่าทำไมต้องมาอยู่
ข้างๆ กับพระพุทธองค์ด้วยความที่เป็นยักษ์ที่มีความดุร้าย ในสมัยพุทธกาลยักษ์ตนนี้มีวิมานเป็นต้นไทรใช้เป็นที่พักพิงอาศัยใกล้กับเมืองอาฬวีเป็นอสูรชั้นดีที่ได้รับพรจากท้าวเวสสุวรรณ ให้สามารถจับมนุษย์และสัตว์ที่เข้าไปอยู่ในร่มไทรกินเป็นอาหารได้

อยู่มาวันหนึ่งกษัตริย์แห่งเมืองอาฬวีเปลี่ยนวิถีมาเข้าป่าล่าสัตว์ตั้งแต่เช้าจนบ่ายร่างกายเริ่มเมื่อยล้าเหลือบสายตาไปพบกับร่มไม้ใหญ่ของต้นไทรที่ตั้งตระหง่าน ใบหนาร่มเย็นเหมาะที่จะเป็นที่นั่งพักพิงอาศัยให้หายเหนื่อย
โดยมิได้รู้ว่าที่ตนได้นั่งนั้นคือวิมานของอาฬวกยักษ์

ด้วยเหตุนี้วิธีของอสูรก็เข้ามาตามบัญชาของพรที่ได้รับ จึงจับพระราชาเข้าคูหาหวังมาเป็นอาหารประทังชีวิต
พ ระ ราชาก็ ระดมความคิด ร้องขอชีวิตโดยสัญญาเป็นมั่นเหมาะที่จะเสาะหาคนมามอบให้ยักษ์เป็นอาหารในทุกทิวาวาร แต่ถ้าวันใดมิได้มีคนมาเป็นอาหารก็จะอาสาพาตนเองมาให้กินตามสัญญาที่กล่าวไว้คำร้องขอ

เป็นผลดลให้ยักษ์ปล่อยกษัตริย์นักล่าออกจากป่าไปเข้าเมือง เพื่อเสาะหามนุษย์มามอบแก่ยักษ์คนในเมืองถูกทยอยนำมาเป็นอาหารจานโปรด ทั้งนักโทษคดีอาญา คนชรา คนป่วยต่างก็นำมาเป็นอาหารในทุกทิวาวารไม่ขาดช่วง

พลเมืองเริ่มลดน้อยลงแม้จะนำทรัพย์สมบัติท้องพระคลังมาจ้างคงไม่มีใครยินยอม หรือแม้แต่วางไว้เพื่อ
รอคนมาหยิบฉวยก็หามีไม่ด้วยกลัวพระอาญาจะเกิดภัยแก่ตนดลให้ไปเป็นอาหารแก่ยักษาพนาไพร สุดวิธีใดจะกล่าวได้จึงมีรับสั่งให้นำเด็กในหมู่บ้านมาเป็นภักษาหารแก่พญาอสูร

ข่าวล่วงรู้ถึงประชาชนคนในเมือง ต่างอพยพหลบหนีพาบุตรชาย บุตรีออกจากแคว้นแดนดินเดิม ไม่เหลือแม้ประชาชนคนใดในเมืองคงมีแต่พระราชโอรสของพระราชาเพียงพระองค์เดียว กษัตริย์จึงดำริตัดสินพระทัยเป็นแน่วแน่ มอบพระราชโอรสใส่พานนำไปยังวิมานของยักษ์

เ ช้ า วันนั้น เ อ ง สม เ ด็ จพ ร ะ สัมม าสัมพุทธเจ้า พระบรมมหาศาสดาได้ทรงตรวจดูสรรพสัตว์ใหญ่น้อย ด้วยสัพพัญญุตญาณ และพระเมตตาสุดประมาณก็ทรงเห็นว่าอาฬวกยักษ์สามารถที่จะบรรลุโสดาบัตติผลได้จึงได้เดินทางไปโปรดยังวิมานของยักษ์ตนนี้ความได้ล่วงรู้ไปถึงอาฬวกยักษ์อสูรตนนี้ได้พยายามขับไล่พระพุทธองค์ด้วยวิธีการต่างๆและความโกรธนี้เองถึงแม้จะปล่อยผ้าทุสสาวุธที่โพกศีรษะตนเองออกมาก็ตามทีก็พ่ายแพ้แก่บารมี ไม่อาจทำอันตรายพระพุทธองค์ จนออกคำสั่งให้พระองค์ลุกไป จากที่นั่ง และก็ทรงยอมทำตามโดยเป็นอุบายวิธีการทำให้ยักษ์ใจอ่อนลงก่อนจะแสดงธรรมโปรดจนในครั้งที่ 3 ทรงปฏิเสธ และตรัสว่า

“อาวุโส เราจักไม่ออกไปละ ท่านจะทำอะไรก็จงทำเถิด”

ยักษ์หมดแรงลงเข้ามาเพื่อเจรจาพูดคุยต่อรองปุจฉาสาระทดสอบพระปัญญาคุณของพระพุทธคุณองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยขู่ว่าถ้าวิสัชนาไม่ได้ก็จะทำลายฉีกร่างเหวี่ยงไปคนละทิศละทาง ข้อปุจฉาที่มีมานั้นเป็นคำถามที่ตนได้เคยถามพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนนามว่าพระกัสสปะพุทธเจ้า มาครานี้จะปุจฉาถามพระโคตมพุทธเจ้าให้ทราบความในวิสัชนา ด้วยพุทธปัญญาในสมเด็จพระทศพล ก็ดลให้วิสัชนาตรงใจกับสิ่งที่ยักษ์ต้องการ คำตอบและคำถามถูกไขข้อข้องใจ ตอบทุกข้อแถลงไข เข้าใจในหลักธรรม

ยักษ์ตนนั้นได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันในเวลานั้นนั่นเอ ง ส่วนพระราชกุมารที่พระราชานำมามอบให้แก่ยักษ์ก็จัดมอบแด่พระพุทธองค์ผู้ทรงญาณบารมีพระองค์ทรงมอบคืนกลับไปให้กษัตริย์องค์นั้นเป็นผู้ดูแลดังเดิม

ลุล่วงเวลานานเนิ่น พระราชกุมารได้บวชเรียน และสำเร็จเป็นพระอนาคามี

จุดสุดท้ายของอาฬวกยักษ์คือการที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงพาอสูรตนนี้เข้าเมือง เพื่อปลดเปลื้องสิ่งที่ทำ และรับฟังพระธรรมเทศนา ประทานแด่ชาวเมืองปวงประชา รวมทั้งกษัตราปกครองเมืองว่าให้ตั้งอยู่ในกัลยาณธรรม มีเมตตาปรานีต่อกัน มีความอดทนอดกลั้นเป็นขันติธรรมนำทาง แล้วส่งธรรมนำทางให้ปวงประชานับถืออาฬวกยักษ์เป็นเทพารักษ์ของเมืองช่วยดูแลบำรุงรักษาความสุขของประชาชน ภายในเมืองให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข
ปราศจากการอาฆาต คนที่จิตใจดุร้ายคล้ายยักษ์มาร ก็จะพากันหันหน้านำหลักธรรมคำสั่งสอน มาใช้ให้ชีวิตสมบูรณ์เพิ่มพูน ต่อไป

อ้างอิง พระไตรปิฎก
• สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ยักขสังยุตอาฬวกสูตรที่ ๑๒
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=6878&Z=6943
• ขุททกนิกาย สุตตนิบาต อุรควรรค อาฬวกสูตร
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=7513&Z=7570
เนื้อหาโดยละเอียดในอรรถกถาอาฬวกสูตร, ขุททกนิกาย สุตตนิบาต:
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=310

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *