คาถามหาเมตตาใหญ่ เป็นบทบันทึกเรื่องราวและบทพระธรรมเทศนาที่สำคัญตอนหนึ่งของพระพุทธเจ้า ซึ่งถูกจารึกไว้ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 31 หน้า 341 ชื่อ เมตตากถา มีเนื้อความโดยย่อว่า
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับ ณ วัดพระเชตวันมหาวิหาร ที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย ครั้งนั้น ได้ตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลายให้ประชุมกันแล้วตรัสพระธรรมเทศนาโปรดพระธรรมเทศนาที่ยกขึ้นแสดงในครั้งนั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเจริญเมตตากรรมฐาน โดยในเบื้องต้นทรงแสดงอานิสงส์ของการแผ่เมตตาว่า ผู้เจริญเมตตาจะได้รับอนิสงส์มากมายถึง 11 ประการ จากนั้นจึงทรงจำแนกการแผ่เมตตาออกเป็น 3 ประเภท
- อโนธิสผรณา คือ การแผ่ไปโดยไม่เจาะจงผู้รับ แผ่ไปโดยไม่ระบุลักษณะผู้รับว่าเป็นใคร อยู่ที่ไหน เพศอะไรหรือมีลักษณะเป็นอย่างไร คือแผ่ไปโดยใช้คำกลาง ๆ ที่ครอบคลุมสัตว์ทุกประเภท เช่นคำว่า สัตตา (สัตว์ทั้งหลาย) ปาณา (สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย) ภูตา (สัตว์ที่เกิดมีแล้วทั้งหลาย)
- โอธิสผรณา คือ การแผ่ไปโดยเจาะจงผู้รับ แผ่ไปโดยระบุประเภท หรือลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งของผู้รับ เช่น ระบุว่าแผ่เมตตาให้มนุษย์ เทวดา เปรต อสุรกาย หรือสัตว์นรก เป็นชายหรือหญิง เป็นต้น
- การแผ่เมตตาไปในทิศทั้ง 10
จากนั้นจึงทรงแสดงคำแผ่เมตตาแต่ละประเภทโดยละเอียด และทรงเน้นย้ำให้พระภิกษุจดจำนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
ความพิเศษของคาถาเมตตาใหญ่นี้ ก็คือ เป็นธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นแสดงเอง โดยไม่มีเหตุต้องให้แสดง เช่น ไม่มีการพูดคุยหรือการสนทนาเกี่ยวกับการแผ่เมตตา ไม่มีผู้ทูลถาม เพราะโดยส่วนมากการแสดงธรรมของพระพุทธองค์จะต้องมีเหตุการณ์ให้ต้องแสดง การที่ทรงยกขึ้นแสดงเองเช่นนี้ ย่อมเป็นพระธรรมเทศนาที่ทรงให้ความสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
บทแผ่เมตตานี้เป็นบทแผ่เมตตาที่ยาวที่สุดในบรรดาบทแผ่เมตตาอื่น ๆ จึงได้ชื่อว่า มหาเมตตาใหญ่
อานิสงส์ของการเจริญคาถามหาเมตตาใหญ่
อานิสงส์ของการแผ่เมตตา พระพุทธเจ้าแสดงไว้ 11 ประการคือ
1. หลับเป็นสุข : คือการนอนหลับสบาย ไม่ฟุ้งซ่าน พลิกตัวไปมา
2. ตื่นเป็นสุข : คือตื่นมาจิตใจแจ่มใส ปลอดโปร่ง ไม่เซื่องซึมมึนหัว
3. ไม่ฝันร้าย : คือ ฝันดี ฝันเห็นแต่สิ่งที่เป็นมงคล สิ่งที่ดีงาม
4. เป็นที่รักของมนุษย์ : คือ มีมนุษย์สัมพันธ์ดี จิตใจเบิกบาน ไม่โกรธง่าย มีเสน่ห์น่าเข้าใกล้
5. เป็นที่รักของอมนุษย์ : คือ เป็นที่รักของสัตว์ดิรัจฉาน ภูตผีปีศาจ
6. เทวดาย่อมคุ้มครองรักษา : เทวดาช่วยเหลือบันดาลให้สมหวังในสิ่งที่ต้องการ และป้องกันอันตรายที่จะเกิดขั้นให้ถอยห่าง
7. ไฟ ยาพิษ ศัสตรา ไม่อาจทำร้ายได้
8. เมื่อทำสมาธิ จิตจะสงบเร็ว
9. ใบหน้าผ่องใส
10. ไม่หลงตาย : คือ เมื่อถึงเวลาที่จะต้องตายก็ตายด้วยอาการสงบ มีสติ ไม่บ่นเพ้อ คร่ำครวญ ดิ้นทุรนทุราย
11. ยังไม่บรรลุธรรมเบื้องสูง ก็จะบังเกิดในพรหมโลก : ธรรมเบื้องสูงในที่นี้ได้แก่ โลกุตรธรรม 9 ประการ คือ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ผู้ที่เจริญเมตตาถ้ายังไม่บรรลุธรรม 9 อย่างนี้ และสามารถเจริญเมตตากรรมฐานนี้จนจิตเป็นสมาธิเข้าถึงณานขั้นใดขั้นหนึ่งและเสียชีวิตลงขณะเข้าณานก็จะไปบังเกิดในพรหมโลกทันที
ลำดับการสวดคาถามหาเมตตาใหญ่
ในการสวดคาถาเมตตาใหญ่แต่ละครั้ง ผู้สวดพึงกระทำด้วยความตั้งใจจริง ไม่สักแต่ว่าทำ ให้ระลึกอยู่เสมอว่าเราทำเพื่อขออภัยขอโทษต่อเจ้ากรรมนายเวรที่เราเคยได้ล่วงเกินเขามา และการที่จะทำให้เขายอมอภัยแก่เรานั้น เราต้องทำด้วยความจริงใจ บริสุทธิ์ใจจริง ๆ เขาถึงจะเต็มใจให้อภัยและตัดเวรกรรมได้จริง เมื่อจะสวดควรตัดเรื่องกังวลต่าง ๆ ออกไปให้หมด ให้สำรวมกาย วาจาและใจ กราบพระ 3 ครั้ง ด้วยเบญจางคประดิษฐุ์ จากนั้นเริ่มสวดมนต์ไปตามลำดับ ดังนี้
1. บทกราบพระรัตนตรัย
2. บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า
3. บทไตรสรณคมน์
4. บทสรรเสริญพระพุทธคุณ
5. บทสรรเสริญพระธรรมคุณ
6. บทสรรเสริญพระสังฆคุณ
7. บทแผ่เมตตาให้ตนเอง
8. บทคาถามหาเมตตาใหญ่
9. บทอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล
10. บทขออโหสิกรรมและอธิษฐานบุญ
ขณะสวดมนต์ควรสวดด้วยน้ำเสียงที่ดังพอได้ยิน ชัดถ้อยชัดคำ ควรสวดด้วยจิตใจที่สงบ ไม่ต้องรีบเร่งให้จบโดยเร็ว แรก ๆ อาจจะสวดผิดบ้างถูกบ้าง ก็ไม่เป็นไร ไม่ถือว่าเป็นบาปติดตัว เพราะเราสวดด้วยจิตบริสุทธิ์มิได้เจตนาที่จะแกล้งทำเล่นอันเป็นการลบหลู่พระธรรมคำสอน เมื่อได้สวดบ่อย ๆ นานไปก็จะชำนาญเอง ปัญหาเรื่องการสวดผิด ๆ ถูก ๆ ก็จะหมดไป การสวดเบื้องต้นควรสวดคำแปลด้วย เพื่อจะได้เข้าใจในเนื้อหาของบทสวด เมื่อเข้าใจดีแล้วภายหลังจะไม่สวดคำแปลก็ได้
- บทกราบพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ. (กราบ)
สวาขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ. (กราบ)
สุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ. (กราบ)
< คำแปล >
พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สินเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง, ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน.
พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว, ข้าพเจ้าขอนมัสการพระธรรม.
พระสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว ; ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ - บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
< คำแปล >
ขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ผู้ห่างไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง - บทไตรสรณคมน์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
< คำแปล >
ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
แม้ครั้งที่ 2 ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
แม้ครั้งที่ 3 ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง - บทสรรเสริญพระพุทธคุณ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อนุตตะโร
ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ.
< คำแปล >
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง, เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจารณะ, เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี, เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง, เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า, เป็นครูสอนของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย, เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม, เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้ - บทสรรเสริญพระธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะโต ธัมโม สันทิฐิโก อะกาลิดา เอหิปัสสิโก
โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ.
< คำแปล >
พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว, เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล, เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด, เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว, เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้. - บทสรรเสริญพระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกสังโฆ,
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกสังโฆ,
ญาญะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกสังโฆ,
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกสังโฆ,
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
อาหุเนยโย, ปาหุเนยโย, ทักขิเณยโย, อัญชะลิกะระณีโย, อนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ.
< คำแปล >
สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว, ปฏิบัติตรงแล้ว, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว, ปฏิบัติสมควรแล้ว, คือคู่แห่งบุรุษ 4 คู่ นับเรียงบุรุษได้ 8 บุรุษ นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา, เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ, เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน, เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี, เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้. - บทแผ่เมตตาให้ตนเอง
อะหัง สุขิโต โหมิ, ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข ;
นิททุกโข โหมิ, ปราศจากความทุกข์ ;
อะเวโร โหมิ, ปราศจากเวร ;
อัพยาปัชโฌ โหมิ, ปราศจากอุปสรรคอันตรายและความเบียดเบียนทั้งปวง ;
อะนีโฆ โหมิ, ปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ ;
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ. มีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนอยู่เถิด ฯ
หมายเหตุ : คำขีดเส้นใต้สำหรับผู้หญิงให้เปลี่ยนเป็น สุขิตา, นิททุกขา, อัพยาปัชฌา, อะนีฆา ตามลำดับ ส่วนคำแปลเหมือนกัน
8. บทคาถามหาเมตตาใหญ่
เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเมฯ ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติฯ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะวะโต ปัจจัสโสสุง ฯ
ภะคะวา เอตะทะโวจะ เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขา ฯ
คำแปล
ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ซึ่งเป็นอารามของท่านอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี ฯ ณ โอกาสนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนพระภิกษุทั้งหลาย ฯ พระภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ได้ตอบรับพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทานพระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (ผู้เจริญเมตตาภาวนาเป็นประจำ) หวังได้แน่นอน (ที่จะได้รับ) อานิสงส์ ๑๑ ประการของเมตตาเจโตวิมุตติ ที่ตนส้องเสพ (ทำให้ชำนาญ) แล้วทำให้เจริญขึ้นแล้ว ทำให้มาก แล้วสั่งสม (ด้วยวสี ๕ ประการ) ดีแล้ว ทำให้บังเกิดขึ้นด้วยดีแล้ว ฯ
(เมตตาเจโตวิมุตติ แปลว่า จิตที่ประกอบด้วยเมตตา พ้นจากความอาฆาตพยาบาทและกิเลสอื่น ๆ)
อานิสงส์ของการเจริญคาถามหาเมตตาใหญ่
อานิสงส์ของการแผ่เมตตา พระพุทธเจ้าแสดงไว้ ๑๑ ประการ คือ
๑. หลับเป็นสุข : คือนอนหลับสบาย ไม่ฟุ้งซ่าน พลิกตัวไปมา
๒. ตื่นเป็นสุข : คือตื่นมาจิตใจแจ่มใส่ ปลอดโปร่ง ไม่เซื่องซึม มึนหัว
๓. ไม่ฝันร้าย : คือฝันดี ฝันเห็นแต่สิ่งที่เป็นมงคล สิ่งที่ดีงาม
๔. เป็นที่รักของมนุษย์ : คือมีมนุษยสัมพันธ์ดี จิตใจเบิกบาน ไม่โกรธง่าย มีเสน่ห์น่าเข้าใกล้
๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ : เป็นที่รักของสัตว์เดรัจฉาน ภูตผีปีศาจ
๖. เทวดาย่อมคุ้มครองรักษา : เทวดาช่วยเหลือบันดาลให้สมหวังในสิ่งที่ต้องการ และป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นให้ถอยห่าง
๗. ไฟ ยาพิษ ศัสตรา ไม่อาจทำร้ายได้
๘. เมื่อทำสมาธิ จิตจะสงบเร็ว
๙. ใบหน้าผ่องใส
๑๐. ไม่หลงตาย : คือเมื่อถึงเวลาที่จะต้องตายก็ตายด้วยอาการสงบ มีสติ ไม่บ่นเพ้อ คร่ำครวญ ดิ้นทุรนทุราย
๑๑. ยังไม่บรรลุธรรมเบื้องสูง ก็จะบังเกิดในพรหมโลก : ธรรมเบื้องสูงในที่นี้ได้แก่ โลกุตรธรรม ๙ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ผู้ที่เจริญเมตตาถ้ายังไม่บรรลุธรรม ๙ อย่างนี้ และสามารถเจริญเมตตากรรมญานนี้จนจิตเป็นสมาธิเข้าถึงฌานขั้นใดขั้นหนึ่งและเสียชีวิตลงขณะเข้าฌานก็จะไปบังเกิดในพรหมโลกทันที
การแผ่เมตตาไปใน ๑๐ ทิศ
การแผ่เมตตาไปในทิศทั้ง ๑๐ นี้ คือการแผ่เมตตาให้กับสัตว์ ๑๒ ประเภท ที่อยู่ในแต่ละทิศ ๑๐ ทิศ ไปตามลำดับดังนี้
๑. แผ่ให้สัตว์ในทิศทั้ง ๑๐
กะตะเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆาสุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
(๘) สัพเพ ทักขะณายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวราอัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะสัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
คำแปล
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปในทิศ ด้วยอาการ ๑๐ เป็นไฉน ? เป็นฉะนี้ คือ
ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
๒. แผ่ให้ปาณชาติ ในทิศทั้ง ๑๐
(๑) สัพเพ ปุรัตถิยายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๘) สัพเพ ทักขินายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
คำแปล
ขอปาณชาติทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
**ปาณชาติ อ่านว่า ปาน-นะ-ชาด หรือ ปา-นะ-ชาด แปลว่า ผู้ที่เกิดมามีชีวิต หรือมีลมหายใจ มาจากคำว่า ปาณ (ลมปราณ, ลมหายใจ, ชีวิต) + ชาติ (เกิด)
๓. แผ่ให้ภูต ในทิศทั้ง ๑๐
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันต ุฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ ฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
คำแปล
ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
**คำว่า ภูต แปลว่า ผู้เกิดเสร็จแล้ว คือเกิดมีชีวิตแล้ว ซึ่งหมายเอาสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายนับตั้งแต่มีปฏิสนธิบังเกิดในครรภ์ ต่างจากคำว่า ภูต ในภาษาไทยที่หมายถึงเฉพาะ ผี จำพวกหนึ่งเท่านั้น
๔. แผ่ให้บุคคลในทิศทั้ง ๑๐
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
คำแปล
ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
๕. แผ่ให้ผู้มีอัตภาพ ในทิศทั้ง ๑๐
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
คำแปล
ขอผู้มีอัตภาพทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
**อัตภาพ อ่านว่า อัด-ตะ-พาบ แปลว่า ความมีตัวตน, ผู้มีอัตภาพ จึงหมายถึง ผู้มีตัวตน
๖. แผ่ให้เพศหญิงในทิศทั้ง ๑๐
(๑) สัพพา ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพพา ปัจฉิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพพา อุตตะรายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพพา ทักขิณายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพพา ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพพา ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพพา อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๘) สัพพา ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๙) สัพพา เหฏฐิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพพา อุปะริมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
คำแปล
ขอผู้มีเพศเป็นหญิงทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
๗. แผ่ให้เพศชายในทิศทั้ง ๑๐
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
คำแปล
ขอผู้มีเพศเป็นชายทั้งหลายทั้วปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
๘. แผ่ให้ผู้เป็นพระอริยะในทิศทั้ง ๑๐
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ ฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
คำแปล
ขอพระอริยะทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
**พระอริยะ หมายพึง ผู้ประเสริฐ ผู้สามารถละกิเลสได้เด็ดขาด แบ่งเป็น ๔ จำพววก ตามความมากน้อยของกิเลสที่ละได้ คือพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ ทั้งที่เป็นบรรพชิต (ผู้ออกบวช) และคฤหัสต์ (ผู้ไม่ได้บวช)
๙. แผ่ให้ผู้ที่ไม่ใช่พระอริยะในทิศทั้ง ๑๐
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆาสุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
คำแปล
ขอผู้ไม่ใช่พระอริยะทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
๑๐. แผ่ให้เทวดาในทิศทั้ง ๑๐
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
คำแปล
ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
๑๑. แผ่ให้มนุษย์ในทิศทั้ง ๑๐
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
คำแปล
ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
(การแผ่เมตตาให้กับมนุษย์ในทิศทั้ง ๘ มีทิศเหนือทิศใต้เป็นต้นนั้นพอเข้าใจ แต่การแผ่ให้กับมนุษย์ที่อยู่ทิศเบื้องบนและทิศเบื้องล่างนั้น ที่จริงทิศเบื้องบนท่านหมายถึงบุคคลที่มีฐานะมีบุญคุณมีธรรมเหนือกว่าเรา เช่น พระ พ่อแม่ เป็นต้น ทิศเบื้องล่างก็มีนัยตรงกันข้ามกับทิศเบื้องบน คือ ผู้ที่มีฐานะตํ่ากว่าเรานั่นเอง)
๑๒. แผ่ให้สัตว์วินิบาตในทิศทั้ง ๑๐
(๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
(๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ ฯ
อิเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณาเมตตาเจโตวิมุตติ
คำแปล
ขอสัตว์วินิบาตทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปในทิศทั้ง ๑๐ ดังนี้ ฯ
สัพเพสัง สัตตานัง ปีฬะนัง วัชเชตวา อะปีฬะนายะ,
อุปะฆาตัง วัชเชตวา อะนุปะฆาเตนะ,
สันตาปัง วัชเชตวา อะสันตาเปนะ,
ปะริยาทานัง วัชเชตวา อะปะริยาทาเนนะ,
วิเหสัง วัชเชตวา อะวิเหสายะ,
สัพเพ สัตตา อะเวริโน โหนตุ มา เวริโน,
สุขิโน โหนตุ มา ทุกขิโน,
สุขิตัตตา โหนตุมา ทุกขิตัตตาติ อิเมหิ อัฏฐะหากาเรหิ สัพเพ สัตเต เมตตายะตีติ เมตตา ฯ
ตัง ธัมมัง เจตะยะตีติ เจโต ฯ สัพพะพะยาปาทะปะริยุฏฐาเนหิ มุจจะตีติ วิมุตติ ฯ
เมตตา จะ เจโตวิมุตติ จาติ เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
คำแปล
ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่สัตว์ทั้งปวงด้วยอาการ ๘ นี้ คือด้วยการเว้นการบีบคั้น ไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวง ๑, ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวง ๑, ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงให้เดือดร้อน ๑. ด้วยการเว้นความยํ่ายี ไม่ยํ่ายีสัตว์ทั้งปวง ๑, ด้วยการเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้วปวง ๑, ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวร ๑, จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์ ๑, จงมีตนเป็สุข อย่ามีตนเป็นทุกข์ ๑, เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เมตตา ฯ
จิตคิดถึงธรรมนั้น จึ้งชื่อว่า เจโต ฯ จิตหลุดพ้นจากพยาบาทและกิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้วปวง เพราะเหตุนั้น จึ้งชื่อว่า วิมุตติ ฯ จิตมีเมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุตติด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ