พระคุณของพระพุทธเจ้า
พระคุณของพระพุทธเจ้าที่มีต่อมวลมนุษย์ในโลกอย่างมาก คือ การเสียสละอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ในการละทิ้งความสุขสบายทั้งหลายทั้งปวง เพื่อออกผนวชและแสวงหาหนทางดับทุกข์ ซึ่งพระองค์ทรงมุ่งประโยชน์สุขของส่วนรวมมากกว่าสิ่งอื่นใด
พุทธคุณ ๓ ประการ
1. พระปัญญาธิคุณ
พระพุทธเจ้ามีความรู้ทั้งด้านทางโลก รู้การเกิดและการตายของสัตว์โลก รู้การหลุดพ้นจากกิเลสของพระองค์ พระองค์ทรงค้นพบความจริง ๔ ประการ คือ
- ทุกข์
- สมุทัย
- นิโรธ
- มรรค
ทั้งหมดนี้เป็นพระคุณของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่า พระปัญญาคุณ
2. พระบริสุทธิคุณ
พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเพียรจนได้บรรลุธรรมและหลุดพ้นจากกิเลส คือ
- ความโลภ
- ความโกรธ
- ความหลง
การปฏิบัติอันสะอาดบริสุทธิ์ สงบผ่องใสทั้งหมดนี้ เป็นคุณของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่า พระบริสุทธิคุณ
3.พระกรุณาธิคุณ
หลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว พระองค์ได้เสด็จไปสั่งสอนประชาชนให้ได้รู้พระธรรมที่พระองค์รู้แจ้งโดยมิรู้จักเหน็ดเหนื่อย พระองค์ทรงสั่งสอนคนทุกคนเสมอเหมือนกันหมดเป็นเวลา ๔๕ ปี การกระทำทั้งหมดนี้เป็นพระคุณของพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่า พระกรุณาคุณ
บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
คำแปล บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ
อิติปิ โส ภะคะวา ( เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น )
อะระหัง ( เป็นผู้ไกลจากกิเลส ) สัมมาสัมพุทโธ ( เป็นผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง )
วิชชาจะระณะสัมปันโน ( เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ )
สุคะโต ( เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี ) โลกะวิทู ( เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง )
อะนุตตะโร ปุริสสะธัมมะสาระถิ ( เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า )
สัตถาเทวะมนุสสานัง ( เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย )
พุทโธ ( เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม ) ภะคะวาติ. ( เป็นผู้มีความเจริญจำแกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้ )
พุทธคุณ 9
อรหํ หมายถึง ผู้ปราศจากกิเลส
สมฺมาสมฺพุทฺโธ หมายถึง ผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน หมายถึง ผู้มีความรู้และความประพฤติถึงพร้อม
สุคโต หมายถึง ผู้เสด็จไปด้วยดี
โลกวิทู หมายถึง ผุ้รู้แจ้งโลก
อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ หมายถึง ผู้ฝึกคนได้ดี ไม่มีผู้ใดเทียมเท่า
สตฺถา เทวมนุสฺสานํ หมายถึง ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทฺโธ หมายถึง ผู้ตื่น
ภควา หมายถึง ผู้มีภคธรรม