มหาอุจจ์ คือ ตำแหน่งดาวมาตรฐาน สูงส่ง ต้องสั่งสมบุญ มาหลายชาติภพ จนเป็นบารมี แล้วได้ตำแหน่งดาวมหาอุจจ์ ในดวงชะตา
คำว่า อุจจ์ มีความหมายว่าสูง ดังนั้นดวงชาตาใดมีดาวพระเคราะห์ที่สถิตในราศีอันเป็นตำแหน่งอุจจ์ของดวงดาวนั้น จัดว่าดวงชาตานั้นประเสริฐยิ่ง โดยตำแหน่งอุจจ์ นั้น ให้คุณมากกว่าดาวพระเคราะห์ที่เป็นเกษตร และให้คุณผาดโผนกว่าปกติธรรมดา
สำหรับดาวพระเคราะห์ที่จะได้ตำแหน่งอุจจ์ทั้ง ๘ ตัวนั้น จะเป็นได้ก็แต่ในตำราขับพระเคราะห์เข้าอุจจ์ โดยธรรมดาแล้วจะเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากดาวอาทิตย์ ดาวพุธ และดาวศุกร์ ที่อยู่ใกล้กันมาก จึงเป็นการยากที่จะทำให้ดาวพระเคราะห์ทั้ง 8 ดวงจะได้ตำแหน่งอุจจ์ทุกตัว
ตำราขับพระเคราะห์เข้าอุจจ์
ในปฏิทินโหราศาสตร์ไทยโดยทั่วไป จะพบว่า ดาวอาทิตย์ ดาวพุธ และดาวศุกร์ จะอยู่ใกล้กันมาก ๆ การเคลื่อนที่ของดาวพุธและดาวศุกร์นั้นมีรัศมีที่แคบ โดยเฉพาะดาวพุธที่มีระยะห่างจากดาวอาทิตย์ไม่เกิน ๒๘ องศา หรือไม่เกินหนึ่งราศี ส่วนดาวศุกร์และดาวอาทิตย์ระยะห่างกันก็ไม่เกิน ๔๘ องศา หรือไม่เกินสองราศี เช่นเดียวกัน (หนึ่งราศีเท่ากับ ๓๐ องศา) ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะให้ดวงชะตาใดก็ตามที่ผูกตามปฏิทินโหรแล้วดาวพระเคราะห์ทั้ง ๘ ดวง นั้น ครองในราศีอุจจ์ทุก ๆ ตำแหน่ง
บูรพาจารย์จึงมีการขับดวงอุจจ์ จากดวงชะตาเดิมเพื่อเป็นการตรวจสอบในการครองตำแหน่งอุจจ์ โดยมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
- ตั้งศักราชกำเนิด (ปัจจุบันใช้จุลศักราช) แล้ว นำ ๑๒ มาหาร เหลือเศษให้ตราไว้
- ตั้ง ๘ ฐานของดาวพระเคราะห์ทั้งแปด โดยกำหนดเกณฑ์อุจจ์อัฏฐะของดาวพระเคราะห์ทั้ง ๘ ดังนี้
อาทิตย์ (๑) — เกณฑ์ ๕
จันทร์ (๒) —- เกณฑ์ ๑๐
อังคาร (๓)—– เกณฑ์ ๙
พุธ (๔) ——– เกณฑ์ ๑๒
พฤหัส (๕) —–เกณฑ์ ๑๑
ศุกร์ (๖) ——–เกณฑ์ ๖
เสาร์ (๗) ——-เกณฑ์ ๙
ราหู (๘) ——–เกณฑ์ ๗ - นำเศษ ข้อ (1) บวกกับเกณฑ์อุจจ์อัฏฐะเคราะห์ ข้อ (2) ได้ลัพท์แล้วนำ ๑๒ หารอีกครั้ง เศษที่ได้นำไปขับดาวพระเคราะห์ในดวงชะตา
- การขับดาวให้ขับเป็นทักษิณาวัฎฎ์ ตามเท่ากับเศษ โดยให้นับราศีเบื้องหลังที่ดาวพระเคราะห์นั้นสถิตย์อยู่ หากเข้าไปสถิตย์ในราศีอุจจ์ แสดงว่าผู้จำเริญมิรู้ยาก มีแต่เสมอตระกูล
ตัวอย่างดวงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งสามารถขับดาวพระเคราะห์ได้อุจจ์ครบทั้ง ๘ ดวง ดังนี้
ประสูติกาล ณ วัน ๖ ฯ ๖ ปีจอ อัฎฐศก ศักราช ๖๘ เวลา ๑๒:๐๐ น
วิธีขับดวงเข้าอุจจ์
ขั้นที่ ๑ ตั้งศักราชกำเนิดลง ๖๘ เอา ๑๒ หาร
๖๘ หาร ๑๒ ลัพธ์ ๕ เศษ ๘
นำเศษ ๘ ตราไว้ แล้วบวกเข้ากับเกณฑ์อุจจ์อัฏฐะเคราะห์ แล้วนำ ๑๒ หาร
อาทิตย์ (๑)—–เกณฑ์ ๕ + ๘ ได้ ๑๓ หารด้วย ๑๒ ลัพธ์ ๑ เศษ ๑
จันทร์ (๒)——-เกณฑ์ ๑๐+ ๘ ได้ ๑๘ หารด้วย ๑๒ ลัพธ์ ๑ เศษ ๖
อังคาร (๓)——เกณฑ์ ๙ + ๘ ได้ ๑๗ หารด้วย ๑๒ ลัพธ์ ๑ เศษ ๕
พุธ (๔)———-เกณฑ์ ๑๒+ ๘ ได้ ๒๐ หารด้วย ๑๒ ลัพธ์ ๑ เศษ ๘
พฤหัส (๕)——เกณฑ์ ๑๑+ ๘ ได้ ๑๙ หารด้วย ๑๒ ลัพธ์ ๑ เศษ ๗
ศุกร์ (๖)———เกณฑ์ ๖+ ๘ ได้ ๑๔ หารด้วย ๑๒ ลัพธ์ ๑ เศษ ๒
เสาร์ (๗)——–เกณฑ์ ๙+ ๘ ได้ ๑๗ หารด้วย ๑๒ ลัพธ์ ๑ เศษ ๕
ราหู (๘)———เกณฑ์ ๗+ ๘ ได้ ๑๕ หารด้วย ๑๒ ลัพธ์ ๑ เศษ ๓
เมื่อได้เศษสำหรับการขับดาวพระเคราะห์ในดวงเดิมแล้ว ให้ขับทักษิณาวัฎฎ์ (หรือถอยหลัง) ของดาวพระเคราะห์ไปเท่ากับจำนวนเศษ แล้วลงพระเคราะห์นั้น ๆ ใหม่ดังนี้
อาทิตย์ (๑) เดิมราศีพฤศภ นับถอยหลัง ๑ ราศี ตกราศีเมษ —- อุจจ์
จันทร์ (๒) เดิมราศีพิจิก นับถอยหลัง ๖ ราศี ตกราศีพฤศภ —อุจจ์
อังคาร (๓) เดิมราศีเมถุน นับถอยหลัง ๕ ราศี ตกราศีมังกร —-อุจจ์
พุธ (๔) เดิมราศีพฤศภ นับถอยหลัง ๘ ราศี ตกราศีกันย์ —–อุจจ์
พฤหัส (๕) เดิมราศีกุมภ์ นับถอยหลัง ๗ ราศี ตกราศีกรกฎ —-อุจจ์
ศุกร์ (๖) เดิมราศีพฤศภ นับถอยหลัง ๒ ราศี ตกราศีมีน ——-อุจจ์
เสาร์ (๗) เดิมราศีมีน นับถอยหลัง ๕ ราศี ตกราศีตุลย์ ——อุจจ์
ราหู (๘) เดิมราศีกุมภ์ นับถอยหลัง ๓ ราศี ตกราศีพิจิก ——อุจจ์
เมื่อขับดวงชะตาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ดาวพระเคราะห์ ๘ ดวงนั้นเข้าตำแหน่งมหาอุจจ์ทั้งหมด
ขอบคุณ ที่มา