นิจจะภังคะราชาโยค หรือ นิจจะภังคะราชาโชค

โดยหลักทั่วไปแล้ว หากเจ้าชะตามีดาวเคราะห์ได้ตำแหน่งนิจ หรือ ตำแหน่งตกต่ำ ในดวงชาตา ถือว่าดาวดวงนั้นให้โทษ แต่หากในดวงชาตา มีกฎล้างโทษดาวเคราะห์นิจ ดาวเคราะห์นั้นก็จะกลับกลายเป็นการให้ผลดีเป็นพิเศษ เรียกว่า ราชาโยค

ดาวเคราะห์ที่เป็นนิจนั้นอ่อนแอและไร้กำลังที่จะแสดงผลดีของดาวเคราะห์นั้นออกมาได้ และดาวเคราะห์นิจนั้นย่อมแสดงแต่ผลร้าย เว้นแต่จะได้กฏเกณฑ์พิเศษจาก นิจจะภังคะทำให้ดาวเคราะห์นิจนั้นก็จะกลายเป็นดาวให้ผลดี

คำว่า นิจจะ หมายถึง ตกต่ำ ส่วนคำว่า ภังคะ หมายถึง เป็นโมฆะ นิจจะภังคะ จึงมีความหมายว่า เป็นโฆฆะจากความตกต่ำ

กฏเกณฑ์ของนิจจะภังคะ

นิจจะภังคะ คือ การล้างโทษหรือการเป็นโมฆะของเคราะห์นิจในดวงชาตา ดังนี้

  1. ถ้าดาวเจ้าเรือนเกษตร หรือดาวอุจ ประจำราศีที่ดาวนิจสถิตนั้นอยู่ในภพเกณฑ์(ภพที่ 1, 4, 7, 10) แก่ลัคนา หรือจันทร์ในดวงชาตา ดาวนิจนั้นก็ไม่ก่อโทษทุกข์แก่เจ้าชาตา
  2. ถ้าดาวเจ้าเรือนเกษตรหรืออุจประจำราศีที่ดาวนิจสถิตนั้นไปกุมหรือเล็งดาวนิจนั้น หรือทำมุมสัมพันธ์กับดาวนิจด้วยเกณฑ์พิเศษของดาวนั้นเอง( อังคารมีเกณฑ์ 4,8 เสาร์มีเกณฑ์ 3, 10 พฤหัสบดี มีเกณฑ์ 5, 9 สามารถส่งแสงให้แก่ดาวที่สัมพันธ์ถึงได้ 100%) ดาวนิจก็ไม่ก่อโทษ
  3. ถ้าดาวเจ้าเรือนในราศีอุจของดาวนิจนั้นอยู่ในภพเกณฑ์แก่ลัคนา หรือจันทร์ในดวงชาตา ดาวนิจก็ไม่เป็นโทษ
  4. ถ้าดาวนิจนั้นอยู่ในภพเกณฑ์แก่ลัคนาหรือจันทร์ในดวงชาตา ดาวนิจก็ไม่ก่อโทษ
  5. ดาวนิจเกาะนวางค์ที่ครองด้วยดาวเคราะห์เจ้าเรือนเกณฑ์ประจำราศีหรืออุจของดาวนิจนั้นก็ไม่ก่อโทษ หมายความว่าเมื่อตรวจทางนวางค์จักรแล้วดาวนิจนั้นได้ตำแหน่งอุจนั่นเอง