พระพุทธรูป ปางป่าเลไลย์

พระพุทธรูป ปางป่าเลไลย์ เป็นพระพุทธรูปประจำวันพุธกลางคืน มีเรื่องราวมาจากเมื่อพระพุทธองค์ประทับอยู่ในเมืองโกสัมพี ขณะเดียวกันก็มีพระสงฆ์หลายรูปที่มักทะเลาะกัน ไม่เชื่อฟัง ทั้งยังประพฤติตัวตามใจตนเอง พระพุทธเจ้าเห็นเช่นนั้น จึงปลีกออกมาประทับในป่าชื่อว่า “ปาลิไลยกะ” ตามลำพัง และได้พญาช้างช่วยปกปักดูแล เมื่อพญาลิงเห็นดังนั้นก็เกิดกุศลจิตตามมา เมื่อชาวบ้านไม่เห็นพระพุทธเจ้า และทราบข่าวเรื่องการทะเลาะเบาะแว้งของพระสงฆ์ จึงตัดสินใจไม่ทำบุญด้วย จนพระเหล่านั้นสำนึกได้ และขอให้พระอานนท์ทูลเชิญพระพุทธเจ้าเสด็จกลับมา พญาช้างเมื่อทราบก็เศร้าเสียใจจนหัวใจวายตาย ด้วยผลบุญที่ทำจึงไปเกิดเป็น “ปาลิไลยกะเทพบุตร” เรื่องราวนี้เชื่อมโยงกับการที่พุธกลางคืนมีปางป่าเลไลยก์ประจำวันเกิด เพราะว่าดวงดาวประจำคือพระราหู โดยพระราหูหมายถึงอบายมุข สิ่งเสพติด นักเลง ส่งผลต่อความมัวเมา ลุ่มหลง เชื่อคนง่าย เอาแต่ใจตนเอง …

พระพุทธรูป ปางป่าเลไลย์ Read More

พระเขี้ยวแก้ว

พระเขี้ยวแก้ว หรือ พระทาฐธาตุ คือพระทันตธาตุส่วนที่เป็นเขี้ยวของพระโคตมพุทธเจ้า ซึ่งตามลักขณสูตรในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ได้กล่าวถึงมหาปุริสลักขณะ 32 ประการ มีข้อความตอนหนึ่งกล่าวถึง ลักษณะของพระทาฐะหรือเขี้ยวของบุคคลผู้มีลักษณะแห่งมหาบุรุษว่า “เขี้ยวพระทนต์ทั้งสี่งามบริสุทธิ์” ข้อมูลนี้จึงทำให้เชื่อกันว่า พระเขี้ยวแก้วมีทั้งหมด 4 องค์ พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนขวา ท้าวสักกะอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ พระจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำขวา ประดิษฐานที่แคว้นกลิงคะ แล้วจึงถูกอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ ลังกาทวีป (วัดพระเขี้ยวแก้ว ประเทศศรีลังกา ในปัจจุบัน) พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนซ้าย ประดิษฐาน …

พระเขี้ยวแก้ว Read More

พระเกษตร ปคุโณ วัดเขาหินเทิน ประจวบคีรีขันธ์

วัดเขาหินเทิน หมู่ 9 บ้านมะขามโพรง ต.เกาะหลัก อ.เมือง ประจวบคีรีขันธ์ เข้าจากถนนเพชรเกษมไป 9  กิโลเมตร อยู่บริเวณเขาหินเทิน มีพระจำพรรษาอยู่เพียงรูปเดียว คือ พระเกษตร ปคุโณ หรือนายเกษตร ธงพุทธรักษ์ อายุ 80 ปี บวชมาเป็นเวลา 51 พรรษา สวมจีวรจากเศษผ้า โดยนำมาจากผ้าบังสุกุล หรือผ้าที่ทิ้งแล้วตามถังขยะ นำมาตัดปะเย็บเป็นชุดจีวร โดยมีจีวรนี้ชุดนี้เพียงชุดเดียว เมื่อผ้าชิ้นส่วนใดชำรุด ก็นำเศษผ้ามาตัดปะทดแทนส่วนเดิม

พระเกษตร ปคุโณ วัดเขาหินเทิน ประจวบคีรีขันธ์ Read More

อุทุมพริกสูตร

ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ – สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้น นิโครธปริพาชก อาศัยอยู่ในปริพาชการามของพระนางอุทุมพริกาพร้อมด้วยปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ ประมาณ ๓,๐๐๐ ครั้งนั้น สันธานคฤหบดีออกจากพระนครราชคฤห์ในเวลาบ่ายวันหนึ่งเพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาค สันธานคฤหบดี ดำริว่า เวลานี้ยังไม่เป็นเวลาอันสมควรเพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคก่อน พระผู้มีพระภาคยังกำลังทรงหลีกเร้นอยู่ แม้ภิกษุทั้งหลายผู้อบรมใจ ก็ไม่ใช่สมัยที่จะพบ ภิกษุทั้งหลายผู้อบรมใจก็ยังหลีกเร้นอยู่ ถ้ากระไร เราควรจะเข้าไปหานิโครธปริพาชกยังปริพาชการามของพระนางอุทุมพริกา จึงเข้าไป ณ ที่นั้น ฯ สมัยนั้น นิโครธปริพาชกนั่งอยู่กับปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ กำลังสนทนาติรัจฉานกถาต่างเรื่อง …

อุทุมพริกสูตร Read More

วันออกพรรษา ตักบาตรเทโว

วันออกพรรษา หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันมหาปวารณา เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธ ถือเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาจำพรรษา 3 เดือนของพระสงฆ์ นิกายเถรวาท วันออกพรรษาเป็นวันที่พระสงฆ์จะทำสังฆกรรม คือ การปวารณา วันออกพรรษา (ออกปุริมพรรษา1) จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 (ประมาณเดือนตุลาคม) หลังวันเข้าพรรษา 3 เดือน ตามปฏิทินจันทรคติไทย การตักบาตรเทโว คำว่า เทโว เรียกมาจากคำว่า เทโวโรหณะ (เทว+โอโรหณ) ซึ่งแปลว่า …

วันออกพรรษา ตักบาตรเทโว Read More

วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธ คำว่า อาสาฬหบูชา ย่อมาจาก อาสาฬหปูรณมีบูชา แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนกรกฎาคมหรือเดือนสิงหาคม แต่ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็ให้เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 8 หลังแทน

วันอาสาฬหบูชา Read More