กำลังใจ ปิดทองหลังพระ

“ปิดทองหลังพระ” สุภาษิตนี้อาจโดนใจใครหลายคนในตอนนี้ ที่มีงานกองเต็มหน้าตัก ความท้อแท้ เหนื่อยหน่ายกำลังเข้ามาครอบงำ บวกกับความคาดหวัง ความกดดัน เสียงตำหนิติติงจากเจ้านาย อาจทำ ให้คนทำงานอย่างเรา ๆ คิดถอดใจขึ้นมาได้ จึงชวนมาอ่านเรื่องราวของ สุภาษิต ปิดทองหลังพระ

เรื่องราว ส่วนหนึ่งใน “บันทึกความทรงจำของ พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร” (สำนักพิมพ์มติชน) อดีตนายตำรวจราชสำนักประจำและยังเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ท่านเขียนถึงเหตุการณ์ที่ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ไว้อย่างน่าประทับใจว่า

ในคืนวันหนึ่งของปีพ.ศ. 2510 หลังจากได้รับพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำ ในวังไกลกังวลแล้ว ผมจำ ได้ว่า คืนนั้นผู้ที่โชคดีได้เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานพระจิตรลดา เป็นนายตำรวจ 8 นาย และนายทหารเรือ 1 นาย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จลงมาพร้อมด้วยกล่องใส่พระเครื่องในพระหัตถ์ ทรงอยู่ในฉลองพระองค์ชุดลำลอง ขณะที่ทรงวางพระเครื่องลงบนฝ่ามือที่ผมแบออกรับอยู่นั้น ผมมีความรู้สึกว่าองค์พระเครื่องร้อนเหมือนเพิ่งออกจากเตา ซึ่งต่อมาได้มีโอกาสกราบบังคมทูลถามพระองค์ท่านจึงได้ทราบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรง
สร้างพระเครื่ององค์นั้นด้วยการนำ เอาวัตถุมงคลหลายชนิดผสมกัน ทั้งดินจากปูชนียสถานต่างๆ ทั่วประเทศ ดอกไม้ที่ประชาชนทูลเกล้าถวายในโอกาสต่าง ๆ และเส้นพระเจ้า (เส้นผม) ของพระองค์เอง เมื่อผสมกันโดยใช้กาวลาเท็กซ์เป็นตัวยึดแล้ว จึงทรงกดลงในพิมพ์ (อ.ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ซึ่งต่อมาเป็นศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้แกะพิมพ์ถวาย) โดยไม่ได้เอาเข้าเตาเผา

หลังจากที่ได้รับพระราชทานองค์พระเครื่องแล้ว ทรงพระกรุณาพระราชทานพระบรมราโชวาทความว่า…….

พระที่ให้ไปน่ะ ก่อนจะเอาไปบูชา ให้ปิดทองเสียก่อน แต่ให้ปิดเฉพาะข้างหลังพระเท่านั้น พระราชทานพระบรม
ราชาธิบายด้วยว่า ที่ให้ปิดทองหลังพระก็เพื่อเตือนตัวเองว่า

การทำความดีไม่จำ เป็นต้องอวดใคร หรือประกาศให้ใครรู้ ให้ทำ หน้าที่เพื่อหน้าที่ และถือว่าความสำเร็จในการทำ หน้าที่เป็นบำเหน็จรางวัลที่สมบูรณ์แล้ว

ผมเอาพระเครื่องพระราชทานไปปิดทองที่หลังพระแล้วก็ซื้อกรอบใส่ หลังจากนั้นมา สมเด็จจิตรลดาหรือพระกำลังแผ่นดินองค์นั้น ก็เป็นพระเครื่องเพียงองค์เดียวที่ห้อยคอผม

หลังจากที่ไปเร่ร่อนปฏิบัติหน้าที่อยู่ไกลเบื้องพระยุคลบาท ผมได้มีโอกาสกลับไปเข้าเฝ้าฯ ที่วังไกลกังวลอีก
ครั้ง

ความรู้สึกเมื่อได้เข้าเฝ้าฯ ซึ่งมีความปิติยินดีที่ได้เข้าเฝ้าฯ พระยุคลบาทอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็มีความน้อยใจในการ
ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตั้งใจ ด้วยความลำบาก และเผชิญกับอันตรายนานาชนิดมาโดยตลอด บางครั้งจนแทบเป็น
อันตรายถึงแก่ชีวิต แต่ปรากฏว่ากรมตำรวจมิได้ตอบแทนด้วยบำเหน็จใด ๆ ทั้งสิ้น

“ก่อนเสด็จขึ้นในคืนนั้น ผมจึงก้มลงกราบบนโต๊ะเสวย แล้วกราบบังคมทูลว่า ใคร่ขอพระราชทานอะไรสัก
อย่างหนึ่ง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ตรัสถามว่า “จะเอาอะไร?”

และผมก็กราบบังคมทูลอย่างกล้าหาญชาญชัยว่า

จะขอพระบรมราชานุญาต ปิดทองบนหน้าพระ ที่ได้รับพระราชทานไป

พระเจ้าอยู่หัวตรัสถามเหตุผลที่ผมขอปิดทองหน้าพระ

ผมกราบบังคมทูลอย่างตรงไปตรงมาว่า….

พระสมเด็จจิตรลดาหรือพระกำลังแผ่นดินนั้นนับตั้งแต่ได้รับพระราชทานไปห้อยคอแล้ว ต้องทำงานหนักและเหนื่อยเป็นที่สุด เกือบได้รับอันตรายร้ายแรงก็หลายครั้ง มิหนำซ้ำกรมตำรวจยังไม่ให้เงินเดือนขึ้นแม้แต่บาทเดียวอีกด้วย……

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงแย้มพระสรวจ (ยิ้ม) ก่อนที่จะมีพระราชดำรัสตอบด้วยพระสุรเสียงที่ส่อพระเมตตาและพระกรุณาว่า

“ปิดทองไปข้างหลังพระเรื่อย ๆ แล้วทองจะล้นออกมาที่หน้าพระเอง……”

การปิดทองหลังพระ เป็นสิ่งที่หลายคนคงไม่ชอบ เพราะเป็นการทำดีแล้ว ไม่มีคนเห็นว่าเราได้ทำดี แต่หากไม่มีใครปิดทองหลังพระบ้าง ก็คงไม่มีพระที่งดงามบริบูรณ์ได้ ทุกครั้งที่ผู้เขียนมีโอกาสได้ทำ งาน (เยอะๆ) จึงนึกถึงคำ
ว่า “ปิดทองหลังพระ” อยู่เสมอ เพื่อคอยเตือนสติบอกกับตัวเองว่า

โอกาสที่ได้ทำงานตรงจุดนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน สิ่งที่เราทำ นั้นแม้จะไม่มีใครเห็น ไม่มีคำสรรเสริญ แต่ทุกครั้งที่ทำ งาน ให้ทำด้วยใจรัก ความสุขจะเกิดขึ้นเอง ..

การทำดีไม่จำ เป็นต้องป่าวประกาศให้ใครรู้ เพราะหนึ่งคนที่รู้แน่ ๆ คือตัวเราเอง ดังนั้นทุกครั้งที่ทำดี และเห็นสิ่งที่ได้ทำ มีประโยชน์กับใครอีกหลาย ๆ คนในสังคมต่างหาก ที่ทำ ให้หัวใจพองโตขึ้น ต้องมีผู้ที่ทำงานปิดทองหลังพระอยู่ในสังคมบ้าง มันจึงจะทำ ให้การทำงานสมบูรณ์ครบถ้วน หากครั้งหนึ่งโอกาสมาถึงให้คุณได้ปิดทอง เหตุใดท่านจึงต้องคอยปิดทองแต่เพียงด้านเดียว ??

“การปิดทองหลังพระนั้น เมื่อถึงคราวจำ เป็นก็ต้องปิด ว่าที่จริงแล้วคนโดยมากไม่ค่อยชอบปิดทองหลังพระกันนัก เพราะนึกว่าไม่มีใครเห็น แต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองแต่ข้างหน้า ไม่มีใครปิดทองหลังพระเลย พระจะเป็นพระที่งามบริบูรณ์ไม่ได้”

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร
ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 25 กรกฎาคม 2506

ที่มา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *